ReadyPlanet.com
dot
dot
Hip Fm Only
dot
bulletเข้าระบบ SMS
dot
สมัครสมาชิก
dot
bullet Maneemusic
bulletสมัครสมาชิก Hip Fm
dot
ลงทะเบียนดีเจ
dot
bulletดีเจ / สถานีวิทยุ
dot
ติดต่อขอจิงเกิ้ลรายการ
dot
dot
Thai Radio
dot
bulletวัดพร้าวลิ้งค์ฮิบเอฟเอ็ม
bulletดาราญี่ปุ่นโดนข่มขืน
dot
สถานีอวกาศฮิพเอฟเอ็ม
dot
bulletสนทนาภาษาสนุก 1 ก.ค
bulletภาษาสนุก2 เปิดใจยุง
dot
สปอตโมษณา
dot
bulletความสำคัญสปอตโฆษณา
bulletถุงหิ้วตราจระเข้
bullet1. เจ้จู คาร์แคร์
bullet2. สปอตอู่ธนกิจมอเตอร์
bullet3. เอนกยนต์ยามาฮ่า
bullet4. พรพินิจ
bullet5. ร้านหยุยพานิช
bullet6. จ่าดำรถตู้
bullet7. ปั๊ม esso สุทธิสิน
bulletมุมสบายหมูกะทะ
bulletตะพานหินคลาสสิคปาร์ตี้
bulletหมูกะทะต้นไผ่
bulletสปอตภาพประกวดดนตรี ปี3
bulletจิงเกิ้ลฮิพเปา
dot
Teddykun เท็ดดี้คุง อัลบั้มแรก
dot
bulletขาอ่อน
dot
Teddykun เท็ดดี้คุง อัลบั้ม 2
dot
bulletรอฉันรอเธออยู่
dot
2หนุ่ม 2สไตล์ หัวใจลูกทุ่ง
dot
bulletประวัติย่อๆ อาร์มอัษฎา
bulletเมมไว้ในใจ
bulletประวัติย่อๆ ไมค์ อินเตอร์
bulletหนุ่ม อปพร.ขอใจ
bulletMv หนุ่มพิจิตรผิดหวัง
bulletขอบคุณแฟนเพลง
bulletให้ฉันบวชเสียก่อน
dot
เบียร์ หนุ่มเซอร์
dot
bulletหนุ่มเซอร์สาว ต.พ
dot
dreamcatcher
dot
dot
จิงเกิ้ลเพลงฮิพเอฟเอ็ม
dot
bulletคลื่นเพลง คลื่นหัวใจ
bulletเพลงตรงนี้ไม่มีเหงา
bulletรักหน้าไมค์
bulletจังหวะมันส์ของวันใหม่
bulletฮิพเอฟเอ็มร้อนๆจ้า
bulletเพลงรัก90
bulletเพลง 90 คลิ๊ก มานี
bulletยิ่งฟังยิ่งดูดี
bulletเพลงหมดอายุ
bullet90ฮิพ แก้ผ้า
dot
เพลงหายาก/แห่งประเทศไทย
dot
bulletเพลงชาติไทย
bulletสารคดีในหลวง-เดนมาร์ก
bullet๖๐ ปี ทำดีไม่ต้องลงทุน
bulletเพลงสรรเสริญพระบารมี
bulletจิ้งเกิ้ล มาร์ท 60ปี
bulletจิงเกิ้ลเพลงทีฆายุโกโหตุ
bulletเพลงแม่แห่งแผ่นดิน
bulletจิงเกิ้ลเพลงแผ่นดินของเรา.
bulletสปอตถวายพระพรแบบกลาง
bulletเพลงเด็กเอ๋ยเด็กดี
bulletเยาวชนชาติไทย
bulletเพลงรักเมืองไทย
bulletทูบีนัมเบอร์วัน
bulletรักกันไว้เถิด
bulletมาร์ทต้านยาเสพติด
bulletมาร์ทตำรวจ
dot
พระบรมราโชวาส ในหลวง
dot
bulletพระบรมฯ การแก้ปัญหา
bulletการพัฒนาประเทศ
bulletการสร้างงาน
bullet.งานทุกอาชีพ
bulletความพอเพียง
bulletงานทุกอาชีพ
bulletรักษ์ภาษาไทย
bulletวิธีทางบ้านเมือง
dot
สื่อสำหรับสถานีวิทยุดาวน์โหลดฟรี
dot
bulletยืดอกพกถุง ตอนอดีต
bulletสถานศึกษาห้ามดื่ม
bulletในวัดห้ามดื่ม ห้ามขาย
bulletจิงเกิ้ลเพลงยาเสพติดไม่ดี
bulletลดโลกร้อนมี 2 ตอน
bulletหยุดวงจรค้ามนุษย์
bulletหน้าที่ดูแลประเทศไทย
bulletเลิกเหล้าเลิกจน
bulletจนเครียดเลิกเหล้า
bulletข้อแนะนำการเลิกเหล้า
bulletทอดกฐินปลอดเหล้า
bullet3 อ.ต้านภัยโรคอ้วน
bulletงามอย่างไทย
dot
เล่าเรื่องตลก
dot
bulletตอน. ขาดไปบ้างคงจะดี
bulletฟรีเบริด์ส
dot
ห้องดูดาวน์
dot
bulletここにいるよ
bulletLoad Sakurasa
bullet青山テルマ/ 何度も
dot
มุมสนุกฮิพๆ
dot
bulletBMX FLATLAND
bulletเต้น ปาราปาร่า ญี่ปุ่น
bulletซึนามิมา หนีเร็ว
bulletห้องน้ำมหาสนุก
bulletโคตรฮาดูให้จบนะ
bulletมันโผล่ขึ้นมาหยอก
bulletเต้น poping แนวใหม่ ญี่ปุ่น
bulletเต้น poping 2
dot
แลกลิ้งค์
dot
bulletแลกลิ้งค์
bulletwww.taphanhin.co.cc
bulletwww.djorgan.com
bulletwww.maneesms.com
bulletwww.manager.co.th
dot
รอจัดหมวดหมู่
dot
bulletตำนานเด็กดี
bulletคดีปราสาทพระวิหาร
bulletติดต่อเรา
bulletPlatinum
bulletก็ใจมันคิดถึง
bulletสาวแบงค์ กสิกร ด่าตำรวจ
bulletเบื้องหลังฮิพโดมิโน่
dot
รวมจิงเกิ้ลฮาจ๊อดซาร่า
dot
bulletเครื่องดักฟังความในใจ
bulletเครื่องดักฟังความในใจ 2.
bulletตอน.อยู่อย่างไรให้เป็นสุข
bulletตอน.น้ำท่วม
bullet90 ฮิพ ทีวี direct
bulletมหกรรมดนตรีปีทำดีปี 1.
bulletคนจีนทำไมไม่จน
bulletตอน วิธีลดโลกร้อน
bulletน้องฮิพช่วยจีบสาว
bulletFriend forver / ศิลปิน MATTY
bulletลีลาสุดฮิพ
bulletเรื่องขำๆ นักมวยมาเทสเสียง
bulletปราบยุงลายตอนลิเก
bulletเพลงโดราเอม่อน
dot
แจกฟรีโปรแกรม
dot
bulletGom Player ดูหนังฟังเพลง
dot
โหลดจิงเกิ้ลออกใหม่
dot
bulletกินเจ น่ารู้
bulletปราบยุงลาย มี 6 ตัว
bulletไม่ได้ฉายในประเทศไทย
bullet สลายพันธมิตรหน้ารัฐสภา
bulletถุงหิ้วตราจระเข้
bulletดาวน์โหลดเพลงปีใหม่และคริสต์มาส
bulletง่วงไม่ขับ
dot
เท็ดดี้คุง เพลงใหม่
dot
bulletประธาน กริยา กรรม
dot
13 พระบรมราโชวาท
dot
bullet1-5 พระบรมราโชวาท
bullet6-9 พระบรมราโชวาท
bullet10-13 พระบรมฯเรื่องสามัคคี
bulletเพลง-จิงเกิ้ล วันแม่
bulletจิงเกิ้ลไข้หวัด2009
bulletปีที่ 4 Music Contest




คดีปราสาทพระวิหาร

เหตุผลใดไทย จึงแพ้คดีปราสาทพระวิหาร



เขาพระวิหาร

บทความโดย ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

           ...คนไทยไม่ค่อยรู้ความเป็นมาเป็นไปในคดีปราสาทพระวิหารอาจเป็นเพราะว่า ประเทศไทยแพ้คดีนี้ให้กับประเทศเพื่อนบ้านคือกัมพูชา จนทำให้สังคมไทยไม่อยากกล่าวถึงคดีนี้มากนัก...

              ประเด็นเรื่องปราสาทพระวิหารกลายเป็นหัวข้อที่สาธารณชนให้ความสนใจอีกครั้ง เมื่อประเทศกัมพูชายื่นเรื่องการขอเสนอให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตาม อนุสัญญา Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage โดยที่ประเทศไทยคัดค้านการยื่นฝ่ายเดียวของกัมพูชา โดยอ้างเรื่องความสมบูรณ์ทางวิชาการด้านโบราณคดีและการที่ทั้งสองประเทศยัง ตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับเขตแดน

           แม้คดีนี้จะผ่านความรับรู้ของคนไทยมายาวนานแล้วก็ตามแต่ปรากฏว่ามีคนไทยน้อยมากที่รู้ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในเรื่องนี้

           เหตุผลที่คนไทยไม่ค่อยรู้ความเป็นมาเป็นไปในคดีปราสาทพระวิหารอาจเป็น เพราะว่าประเทศไทยแพ้คดีนี้ให้กับประเทศเพื่อนบ้านคือกัมพูชา จนทำให้สังคมไทยไม่อยากกล่าวถึงคดีนี้มากนัก

           และด้วยเหตุที่คนไทยรู้จักกับคดีนี้น้อย จึงอาจมีการบิดเบือนข้อมูลได้ง่าย เนื่องจากคดีนี้มีสองประเด็นใหญ่ที่ต้องพิจารณาคือ ประเด็นเรื่องการยอมรับเขตอำนาจศาลและการพิจารณาขั้นเนื้อหา จึงขอแยกอธิบาย ดังนี้

  ประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาลโลก

           ประชาชนคนไทยมักจะสงสัยอยู่เสมอว่า ทำไมประเทศไทยต้องไปขึ้นต่อสู้คดีต่อศาลโลกที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีอธิปไตย มีเอกราช การขึ้นต่อสู้คดีของประเทศไทยมิเท่ากับเป็นการเสียเอกราชหรือ

           ประเด็นนี้ เป็นประเด็นข้อกฎหมายที่สลับซับซ้อน หากใช้ความรู้สึกชาตินิยมหรือสามัญสำนึกย่อมไม่เข้าใจว่าทำไมประเทศไทยต้อง ขึ้นศาลโลก ผู้เขียนจะขออธิบายช่องทางการยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเสียก่อนว่ามีวิธีการใด บ้าง การยอมรับเขตอำนาจศาลโลกนั้นทำได้อยู่สามประการคือ

             ประการแรก การยอมรับเขตอำนาจการพิจารณาคดีโดยการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาใดอนุสัญญาหนึ่ง ซึ่งกำหนดว่า หากมีปัญหาในการตีความสนธิสัญญา ให้ศาลโลกเป็นผู้พิจารณา

             ประการที่สอง ประเทศคู่พิพาทตกลงทำความตกลงยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเป็นเฉพาะกรณีๆ ไป กล่าวคือ เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นมาแล้ว รัฐคู่พิพาทได้ทำสนธิสัญญายอมรับเขตอำนาจศาลเฉพาะข้อพิพาทนั้น และ

             ประการที่สาม รัฐได้ทำคำประกาศฝ่ายเดียวยอมรับเขตอำนาจศาล ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่รัฐกำหนดไว้

           ประเด็นเรื่องการยอมรับเขตอำนาจศาลโลก (ทั้งศาลโลกเก่าและใหม่) ของประเทศไทยนั้นเป็นประเด็นที่คนไทยไม่ใคร่ได้กล่าวถึง อาจเป็นเพราะว่าเป็นประเด็นข้อกฎหมายมากเกินไปประชาชนทั่วไปจึงไม่ค่อยได้ สนใจ

           อีกทั้งทางการก็มิได้ชี้แจงประเด็นนี้ต่อสาธารณชน มากนักทั้งๆ ที่ประเด็นนี้มีความสำคัญอย่างมาก และเป็นประเด็นที่หากมีการกล่าวถึงในวงกว้างแล้วก็อาจมีผลกระทบต่อผู้ เกี่ยวข้องได้ แต่เนื่องจากประเด็นนี้สำคัญ ผู้เขียนจึงมิอาจหลีกเลี่ยงที่จะข้ามไปได้จึงขอกล่าวถึง ดังนี้

           ประเทศไทยได้ทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจของศาลโลก ทั้งหมด 3 ฉบับ ดังนี้

             ฉบับแรกทำเมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ.1929 และเริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ในปี ค.ศ.1930 โดยคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าซึ่งชื่ออย่างเป็นทางการคือ "ศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศ" (Permanent Court of International Justice : PCIJ) เป็นเวลา 10 ปี

             ฉบับที่สอง รัฐบาลไทยทำคำประกาศโดยมิวัตถุประสงค์เพื่อ "ต่ออายุ" (renew) เขตอำนาจศาลโลกเก่า โดยคำประกาศฉบับที่สองนี้ทำเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ.1940 โดยคำประกาศที่สองนี้เริ่มมีผลใช้บังคับวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ.1940

             ฉบับที่สาม รัฐบาลไทยทำเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.1950 ซึ่งหลังจากที่คำประกาศฉบับที่สอง (ที่ต่ออายุคำประกาศฉบับแรก) หมดอายุเป็นเวลา 14 วัน

           มีข้อสังเกตที่น่าสนใจและเป็นประเด็นข้อกฎหมายที่ฝ่ายไทยนำมาอ้างก็คือ ศาลโลกเก่านั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1946 และตามธรรมนูญของศาลโลกใหม่ที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ" (International Court of Justice : ICJ) นั้นมาตรา 36 วรรค 5 ได้กำหนดว่า ให้การยอมรับเขตอำนาจ "ศาลโลกเก่า" โอนถ่ายไปยัง "ศาลโลกใหม่" หากว่า คำประกาศนั้นยังมีผลใช้บังคับอยู่หรือกล่าวง่ายๆ คือ ยังไม่ขาดอายุนั่นเอง

           ข้อต่อสู้เกี่ยวกับการคัดค้านเขตอำนาจศาลโลกใหม่ที่ทนายความฝ่ายไทยต่อ สู้ในชั้นของการคัดค้านเขตอำนาจของศาลโลกใหม่นั้นมีว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าได้ยุติลงอันเป็นผลมาจากการสิ้นสุดของศาล โลกเก่า ดังนั้น คำประกาศต่ออายุเขตอำนาจศาลโลกเก่าเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ.1950 จึงไม่มีผลใช้บังคับอีกต่อไป

           อีกทั้งคำประกาศดังกล่าวมิใช่คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกใหม่ ดังนั้น ศาลโลกใหม่จึงไม่มีเขตอำนาจ

           แต่ข้อต่อสู้นี้อ่อนมาก ศาลโลกเห็นว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลฉบับที่สามที่รัฐบาลไทยทำเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ.1950 นั้น ไม่สามารถใช้เป็นเหตุผลในการต่ออายุยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าได้ เพราะว่า คำประกาศฉบับที่สามนี้ ทำหลังจากที่คำประกาศฉบับที่สองหมดอายุแล้วสองอาทิตย์

           ศาลโลกเห็นว่า สิ่งที่จะต่ออายุได้นั้น สิ่งนั้นต้องเป็นสิ่งที่ยังมีอยู่ มิใช่เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่อีกต่อไปแล้ว อีกทั้งรัฐบาลไทยก็รู้ดีว่าขณะที่ทำคำประกาศฉบับที่สามนั้นทำหลังจากที่ศาล โลกเก่าได้สิ้นสุดลงแล้วกว่าสี่ปี (ศาลโลกเก่าสลายตัวเมื่อปี ค.ศ.1946 แต่คำประกาศฉบับที่สามทำเมื่อปี ค.ศ.1950) ข้ออ้างของประเทศไทยจึงฟังไม่ขึ้น

           ประเด็นต่อไปมีว่า ในเมื่อคำประกาศฉบับที่สามฟังไม่ได้ว่าเป็นคำประกาศต่ออายุยอมรับเขตอำนาจ ศาลโลกเก่าแล้ว ผลในทางกฎหมายของคำประกาศฉบับที่สามคืออะไร ศาลโลกเห็นว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลฉบับที่สามเป็นคำประกาศใหม่ ที่แยกเป็นเอกเทศออกจากคำประกาศฉบับแรกและฉบับที่สอง

           และหากพิจารณาเนื้อหาของคำประกาศที่สามแล้ว ศาลโลกเห็นว่า เป็นการประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกใหม่ โดยอิงเงื่อนไขจากคำประกาศฉบับแรก

           ดังนั้น ศาลโลกจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ศาลโลกมีเขตอำนาจพิจารณาข้อพิพาทที่รัฐบาลกัมพูชาฟ้องรัฐบาลไทย ข้อต่อสู้ทางกฎหมายของฝ่ายไทยฟังไม่ขึ้น


  ประเด็นเรื่องเนื้อหาของข้อพิพาท

           คําร้องของกัมพูชาที่สำคัญที่ให้ศาลโลกวินิจฉัยคือประเด็นที่ว่า กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนอันเป็นที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร การนำเสนอพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายนั้นมีดังนี้

           ฝ่ายไทยเสนอว่า หากพิจารณาตามสนธิสัญญาที่สยามทำกับประเทศฝรั่งเศส (ขณะนั้นประเทศฝรั่งเศสปกครองกัมพูชา) เมื่อปี ค.ศ.1904 ซึ่งตามสนธิสัญญาจะใช้ "สันปันน้ำ" (watershed) ปราสาทพระวิหารจะอยู่ฝั่งไทย แต่หากพิจารณาตามแผนที่ ปราสาทพระวิหารจะอยู่ฝั่งกัมพูชา

           ขออธิบายตรงนี้เลยว่าหลังจากที่มีการทำสนธิสัญญาทวิภาคีในปี ค.ศ.1904 ทั้งสองฝ่ายได้ตั้งคณะกรรมการผสมขึ้น และไม่นานนัก คณะกรรมการชุดนี้ก็มิได้ทำงานอีกต่อไป ต่อมา ฝ่ายไทยได้ร้องขอให้ประเทศฝรั่งเศสจัดทำแผนที่ขึ้น ข้อสังเกตเกี่ยวกับแผนที่เจ้าปัญหาฉบับนี้ มีดังนี้

             ประการแรก แผนที่นี้เป็นการร้องขอจากฝ่ายไทยให้ประเทศฝรั่งเศสทำขึ้น แผนที่นี้ทำขึ้นที่กรุงปารีส การที่ประเทศร้องขอให้ประเทศฝรั่งเศสทำขึ้นนั้นเป็นเพราะว่าในขณะนั้น ประเทศไทยยังขาดผู้เชี่ยวชาญในการทำแผนที่

             ประการที่สอง การปักปันเขตแดนแล้วลงมาตราส่วนลงในแผนที่เป็นการกระทำฝ่ายเดียวของประเทศฝรั่งเศส โดยที่ฝ่ายไทยไม่มีส่วนร่วมเลย

             ประการที่สาม การทำแผนที่นี้ไม่เกี่ยวกับคณะกรรมการผสมแต่อย่างใด ในประเด็นนี้ผู้พิพากษาฟิสต์มอริสซึ่งเป็นหนึ่งในองค์คณะกล่าวว่า คณะกรรมการผสมไม่เคยแม้แต่จะ "เห็น" แผนที่นี้ อย่าว่าแต่ "รับรอง" เลย เป็นการร้องขอฝ่ายเดียวจากรัฐบาลไทย

             ประการที่สี่ เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดและเป็นเหตุผลสำคัญที่ศาลโลกวินิจฉัยให้ประเทศไทยแพ้ก็คือ แม้ประเทศไทยจะไม่มีส่วนในการทำแผนที่ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยคัดค้านหรือประท้วงเกี่ยวกับความถูกต้องของแผนที่ ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีโอกาสอยู่หลายครั้งที่จะทักท้วงหรือประท้วงถึงความคลาด เคลื่อนหรือความผิดพลาดของแผนที่

           โอกาสที่จะประท้วงความไม่ถูกต้องของแผนที่ เช่น กรณีการเจรจาทำสนธิสัญญาทางไมตรี พาณิชย์และการเดินเรือกับประเทศฝรั่งเศสที่ทำขึ้นในปี ค.ศ.1925-1937 แต่ไทยก็มิได้ทักท้วง

           ซึ่งศาลโลกเห็นว่า การนิ่งเฉยของประเทศไทยเป็นเวลานานเท่ากับเป็นการยอมรับความถูกต้องของแผนที่แล้ว จะมาปฏิเสธในภายหลังนั้น ไม่อาจกระทำได้ เป็นการปิดปากประเทศไทยว่าจะมาปฏิเสธความผิดพลาดของแผนที่ไม่ได้

           ยิ่งไปกว่านั้น ทางการของไทยเองยังได้ทำแผนที่ใช้ขึ้นเองอีกด้วยในปี ค.ศ.1937 โดยแผนที่ที่เจ้าหน้าที่ของไทยเป็นผู้จัดทำ ได้แสดงว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนของกัมพูชา ประเด็นนี้ไทยอ้างว่า แผนที่ที่ไทยทำขึ้นเองฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการทหารเป็นการภายในเท่านั้น แต่ศาลโลกไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของไทยในประเด็นนี้

           เหตุผลประการหนึ่งที่ศาลโลกเห็นว่า ประเทศไทยยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือที่ตั้งปราสาทพระวิหารก็คือ การที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ไปเยือนกึ่งเป็นทางการที่ปราสาทพระวิหาร ในครั้งนั้น กองทหารฝรั่งเศสได้ตั้งกองทหารเกียรติยศรับการเสด็จอย่างเต็มที่ และยังชักธงชาติของประเทศฝรั่งเศสด้วย

           ซึ่งศาลโลกเห็นว่า เท่ากับประเทศไทยยอมรับอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารว่าเป็นของกัมพูชา (ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส) อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ ผู้พิพากษาศาลโลกท่านหนึ่งคือ ท่านเวลลิงตัน คู ซึ่งเป็นตุลาการเสียงข้างน้อยได้ทำความเห็นแย้งว่า ในเวลานั้นกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยแล้ว แต่ดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสถานแห่งประเทศไทย อีกทั้งพระองค์ยังตรัสว่า การมาเยือนปราสาทพระวิหารนี้ไม่เกี่ยวกับการเมือง

           นอกจากนี้ สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ไทยแพ้คดีอาจเป็นผลมาจากการตั้งรูปคดีที่ผิดพลาดมา ตั้งแต่ต้น แทนที่ประเทศไทยจะปฏิเสธความผิดพลาดของแผนที่ ควรรับประเด็นเรื่องแผนที่ แล้วยกข้อต่อสู้ว่า ในกรณีที่ข้อความในสนธิสัญญาที่ให้ใช้ "สันปันน้ำ" แย้งกับ "แผนที่" ในกรณีนี้ให้ถือว่าข้อความในสนธิสัญญามีค่าบังคับเหนือกว่า

           ซึ่งอนุสัญญาแวร์ซายส์ มาตรา 29 ก็มีข้อความทำนองนี้ อีกทั้งก็มีคดีที่ศาลตัดสินให้ความน่าเชื่อถือของสนธิสัญญายิ่งกว่าแผนที่

            จริงหรือที่ "การนิ่งเฉย" หรือ "กฎหมายปิดปาก" มิใช่เป็นหลักกฎหมาย

           หลังจากที่ไทยแพ้คดี นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเวลานั้นกล่าวทำนองว่าศาลโลกนำหลักกฎหมายที่ไม่ชัดเจนมาตัดสินคดี ที่น่าคิดก็คือ ทำไมทนายฝ่ายไทยไม่ทราบ หรือว่า "หลักกฎหมายปิดปาก" หรือ "การนิ่งเฉย" นั้น ศาลโลกหรืออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเคยนำมาใช้หลายคดีแล้ว

           อีกทั้งนักกฎหมายระหว่างประเทศก็ยังได้เขียนบทความเรื่อง "หลักกฎหมายปิดปากที่ใช้ในศาลระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ของหลักกฎหมาย ดังกล่าวกับการนิ่งเฉย" (Estoppel before Internationals and Its Relation to Acquiescence) เขียนโดยนักกฎหมายระหว่างประเทศชื่อ Bowett ลงในวารสาร British Yearbook of International Law ปี ค.ศ.1957 และบทความชื่อ "หลักกฎหมายปิดปากในกฎหมายระหว่างประเทศ" โดย Mcgibborn ในวารสาร International and Comparative Law Quarterly ปี 1958 ซึ่งตีพิมพ์ก่อนที่ศาลโลกจะตัดสินประมาณ 3-4 ปี

           ไม่อาจคาดการณ์ได้แน่ชัดว่าฝ่ายไทยได้เคยอ่านบทความนี้หรือไม่ แต่ไม่ว่าฝ่ายไทยจะได้เคยอ่านบทความนี้หรือไม่ก็ตาม ประเด็นที่น่าคิดก็คือ ทนายความของฝ่ายไทยน่าจะย่อมรู้ถึงหลักกฎหมายปิดปากเป็นอย่างดี

           เพราะหลักว่าด้วย "การถูกการตัดสิทธิ" (Preclusion) หรือ "การนิ่งเฉย" อาจเทียบได้หรือมีผลเท่ากันกับ "หลักกฎหมายปิดปาก" อันเป็นหลักกฎหมายอังกฤษ หรือแองโกลแซกซอน

  บทส่งท้าย

           สรุปเหตุผลที่แท้จริงที่ประเทศไทยเสียปราสาทพระวิหารคือ การยอมรับความคลาดเคลื่อนของแผนที่อันเป็นผลมาจากการทำแผนที่ฝ่ายเดียวของ เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส ซึ่งศาลโลกเห็นว่า หลังจากที่ทำสนธิสัญญาประเทศสยามอยู่ในฐานะที่จะคัดค้านความไม่ถูกต้องของ แผนที่ได้หลายครั้ง แต่ก็มิได้คัดค้าน จึงปิดปากประเทศสยามว่าต่อมาจะปฏิเสธความไม่ถูกต้องของแผนที่ไม่ได้

           หากประเทศไทยจะเสียดินแดนอีกครั้งคงไม่ใช่เพราะนำข้อมูลการต่อสู้ทาง กฎหมายคดีความเอาไปขายให้กับประเทศเพื่อนบ้านหรือเกิดจากความไม่รักชาติ ไม่สามัคคีอย่างที่คนไทยหลายคนเข้าใจกัน (ซึ่งรวมถึง พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ด้วย) แต่เกิดจากความไม่รอบคอบ ความประมาท และไม่รู้จักหน้าที่ของตนเองมากกว่า เหมือนกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสามจังหวัดภาคใต้ของเรา






Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มานีมิวสิค 55/4 อาคารสีลมปาร์ควิว ซอยศาลาแดง 2 ถ.คอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ10500 Tel / Fax : 02-6322983 / 90 Hip Fm เลขที่ 2 ถ.โกสินทร์ 200 ปี ซอย 8 อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร 66110 Tel : 056-662676 Fax : 056-662677 Hot Line : 081-707-1138